ระบบภูมิต้านทาน Immune system
ระบบภูมิต้านทาน ที่คอยป้องกันร่างกาย
การทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน
ร่างกายเรามีระบบภูมิต้านทานที่คอยป้องกันเชื้อโรคและไวรัสต่างๆ และสามารถรักษาโรค ให้หายเองตามธรรมชาติ เราแบ่งภูมิต้านทานออกเป็น 2 ประเภทคือ ภูมิต้านทานที่มีตามธรรมชาติ และภูมิต้านทานที่ได้มาภายหลัง
ภูมิต้านทานตามธรรมชาติที่มีอยู่ในร่างกายก็คือเซลล์ NK (Natural Killer) และเซลล์ แมคโครฟาจ (Macrophage) เมื่อมีสิ่งแปลกปลอมจากภายนอกเข้ามาภายในร่างกาย เซลล์ แมคโครฟาจในเม็ดเลือดขาวจะเป็นด่านป้องกันด่านแรกที่คอยกำจัดสิ่งแปลกปลอม โดยการกลืนกิน ส่วนเซลล์ NK จะคอยตรวจตราและเกาะติดกับเซลล์เป้าหมายของการโจมตี โดยทำงานร่วมกับเซลล์แมคโครฟาจเพื่อโจมตีสิ่งแปลกปลอมนั้นๆ
การทำงานของภูมิต้านทานที่มีตามธรรมชาติ
เซลล์แมคโครฟาจจะหลั่งสารไซโตไคน์ (Cytokine) ออกมาเพื่อหาตำแหน่งของสิ่งแปลกปลอม และถ่ายทอดข้อมูลให้แก่เซลล์ที (T-Cell) ในต่อมน้ำเหลือง เมื่อเซลล์ทีได้รับข้อมูลก็จะผลิตอาวุธเพื่อใช้ต่อสู้กับสิ่งแปลกปลอมนั้นๆ ส่วนภูมิต้านทานที่ได้มาภายหลัง คือ ภูมิต้านทานที่ร่างกายผลิตเองสำหรับโรคบางชนิดโดยเฉพาะ เมื่อเป็นโรคนั้นแล้วจะไม่เป็นอีกซ้ำสอง
สาเหตุที่ทำให้ระบบภูมิต้านทานโรคเสื่อม
ภูมิต้านทานเป็นระบบหลายชั้นที่ปกป้องรักษาร่างกาย แต่หากเราไม่ใส่ใจดูแลเรื่องการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น นอนหลับไม่เพียงพอ สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ ออกกำลังกายไม่เพียงพอ รับประทานอาหารผิดหลักโภชนาการ รับสารเคมี รวมถึงความเครียดทางจิตใจ ก็จะกลายเป็นสาเหตุที่ทำให้ระบบภูมิต้านทานทำงานผิดปกติและเสื่อมลงได้
สภาพร่างกายเกิดการเปลี่ยนแปลง เนื่องจากภูมิคุ้มกันทำงานผิดปกติ
เมื่อร่างกายได้รับสารก่อภูมิแพ้ (Allergen) เช่น ขนสัตว์ มูลสัตว์ ซากของเห็บ รา ละอองเกสรดอกไม้ ฯลฯ หากระบบภูมิต้านทานทำงานผิดปกติ สารแอนติบอดี้ (Antibody) จะถูก สร้างออกมาในปริมาณที่มากเกิน และโจมตีสิ่งแปลกปลอมและเซลล์ร่างกายส่วนต่างๆ ทำให้เกิดอาการผิดปกติขึ้น ซึ่งเราเรียกสภาวะนี้ว่า “ภูมิแพ้” เช่น โรคภูมิแพ้ผิวหนัง โรคหืดหอบ โรคแพ้ละอองเกสรดอกไม้ เป็นต้น
เมื่อสารก่อภูมิแพ้เข้าสู่ร่างกาย ร่างกายจะเกิดปฏิกิริยาตอบสนอง แล้วสร้างสารแอนติบอดี้ขึ้นมาในปริมาณที่มากเกิน ส่งผลให้เกิดอาการต่างๆ เช่น น้ำมูกไหล หอบหืด ผื่นคันตามผิวหนัง เป็นต้น
ลำไส้เล็กทำหน้าที่เป็นตัวแบ่งแยกสารต่างๆ และเป็นศูนย์กลางออกคำสั่งภูมิต้านทาน
นอกจากนี้ร่างกายยังมีระบบป้องกันศัตรูจากภายนอกไม่ให้สามารถเข้ามาภายในร่างกายได้ อนึ่งภายในของร่างกายที่หมายถึงนั้นก็คือ “เซลล์” เมื่อเรากลืนอาหารลงไป ยังไม่ถือว่าเข้าไปในร่างกาย จนกระทั่งเริ่มดูดซึม จึงจะนับว่าเข้า สู่ร่างกาย
โครงสร้างภายในและภายนอกร่างกาย
ดังนั้นทางผ่านระหว่างภายนอกสู่ภายในร่างกายคือ ส่วนที่ทำหน้าที่ดูดซึมในลำไส้เล็กนั่นเอง หากลำไส้เล็กดูดซึมสารอาหารและน้ำเข้าไปพร้อมๆ กับเชื้อโรคหรือสิ่งที่เป็นพิษ ก็จะทำให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพ ดังนั้นลำไส้เล็กจึงมีเครื่องมือที่สามารถวิเคราะห์แยกสิ่งที่ร่างกายต้องการและไม่ต้องการ รวมถึงสิ่งที่เป็นพิษออกจากกัน แต่ถ้าหากเกิดความผิดพลาดในการดูดซึม ก็จะมีระบบที่ทำให้ภูมิต้านทานทำงาน ซึ่งส่วนที่ทำหน้าที่นี้ก็คือ เยื่อหุ้มและขนเส้นเล็กๆ ที่อยู่บนผิวลำไส้นั่นเอง
โครงสร้างส่วนลำไส้เล็กเป็นปากทางเข้าสู่ภายในของร่างกาย(เซลล์) ผิวของลำไส้เล็กมีลักษณะคล้ายกับดอกไม้ทะเล กล่าวคือ ถูกปกคลุมไปด้วยขนที่ยื่นออกมา และมีการเคลื่อนไหวอย่างช้าๆ โดยที่ทุกๆ 1 นาที ภายในลำไส้จะเคลื่อนไหวนับเป็นระยะทาง 1 – 2 เซนติเมตร ส่วนบนของขนที่ยื่นออกมานี้ จะมีต่อมน้ำเหลืองอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งทำหน้าที่สั่งให้ระบบภูมิต้านทานทำงาน และคอยเตรียมพร้อมรับมือศัตรูจากภายนอกอยู่เสมอ
จากการศึกษาวิจัยพบว่า ที่บริเวณผิวของลำไส้เล็กจะมีเซลล์ที่ผลิตสารกระตุ้นการทำงานของภูมิต้านทานอยู่เป็นจำนวนมาก จึงกล่าวได้ว่า ลำไส้เล็กเป็นศูนย์กลางสั่งระบบภูมิต้านทานให้ทำงาน นอกจากนี้ลำไส้เล็กยังมีประสาทสมองรับความรู้สึกไว สามารถส่งสัญญาณไปยังประสาทและระบบหลั่งสารภายในไปพร้อมๆ กับการแบ่งแยกสิ่งที่เข้ามาว่าเป็นศัตรูหรือไม่
เบต้ากลูแคนช่วยกระตุ้นการทำงาน ของภูมิคุ้มกันในลำไส้เล็ก
ผิวของลำไส้เล็กถูกปกคลุมด้วยเมือกเหนียว (เยื่อหุ้ม) ซึ่งประกอบด้วยสารจำพวกน้ำตาล หลายโมเลกุลสำหรับช่วยเซลล์ในการคัดแยกว่าสิ่งที่เข้ามานั้นเป็นมิตรหรือศัตรู เบต้ากลูแคน ซึ่งเป็นสารจำพวกน้ำตาลหลายโมเลกุล (Polysaccharide) จะเกาะติดกับเซลล์แมคโครฟาจ และเซลล์ NK (Natural Killer) โดยเบต้ากลูแคนจะเปิดสวิตซ์ของระบบภูมิต้านทาน ในขณะที่ติดอยู่กับผนังลำไส้เล็กก่อนที่ร่างกายจะดูดซึมสารต่างๆ เข้าสู่เซลล์
การดูดซึมเบต้ากลูแคน และการถ่ายทอดภูมิต้านทาน
อาหารที่เรารับประทานเข้าไปนั้น จะผ่านกระบวนการย่อยที่อวัยวะต่างๆ เช่น กระเพาะ อาหารจะทำให้กลายเป็นโมเลกุลที่เล็กที่สุด เพื่อให้ร่างกายสามารถดูดซึมนำไปใช้ได้ และจะถูกดูดซึมโดยเซลล์ผิวหลังส่วนบนของลำไส้เล็ก
แต่ทว่า อวัยวะในระบบทางเดินอาหารนั้น จะไม่สามารถย่อยเบต้ากลูแคนให้เล็กจนร่างกายสามารถดูดซึมได้ เบต้ากลูแคนจึงเดินทางไปถึงลำไส้ได้โดยมีขนาดใหญ่ในระดับหนึ่ง และถูกเก็บไว้ในร่างกายโดย Peyer’s patch ซึ่งเป็นอวัยวะพิเศษ ที่จะทำหน้าที่แยกสิ่งที่มีขนาดใหญ่ซึ่งเดินทางมาถึงลำไส้ว่าเป็นสิ่งแปลกปลอม และส่งคำสั่งไปยังระบบภูมิต้านทานให้กักกันสิ่งนั้นไว้ส่วนปลายของ Peyer’s patch จะมีเซลล์แมคโครฟาจ คอยจับสารเบต้ากลูแคนไว้ เบต้ากลูแคนที่ถูกจับจะเกาะติดกับส่วนที่ทำหน้าที่กระตุ้นการทำงานของเซลล์แมคโครฟาจ โดยจะหลั่งสารไซโตไคน์ (Cytokine) ออกมาเพื่อกระตุ้นการทำงานของเซลล์ภูมิต้านทานอื่นๆ